หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ความหมายของศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของ  รีเลชั่น  (Relation)  มีคำเรียกทั่ว ๆ ไปว่า ตาราง  (  Table  )  เป็นคำนามที่แทนข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ความหมายของ  ทูเพิล  (  Tuple )  คือค่าของข้อมูลในแต่ละแถว  (Row) หรือ  เรคคอร์ด (Record)
ความหมายของ   คาร์ดินาลลิตี้   (Cardinality)  คือ  จำนวนแถวแต่ละข้อมูลในแต่ละรีเลชั่น
ความหมายของ   แอทริบิวต์  (Attribute)  คือรายละเอียดของข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ ซึ่งแสดงให้รู้ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง  หรือรู้จักในรูปของคอลัมน์  (Column)  หรือ  ฟิลด์  (File)
 ความหมายของ   คีย์หลัก   (Primary  key)  คือแอทริบิวต์ที่มีค่าของข้อมูลเป็นเอกลักษณ์หรือเฉพาะเจาะจงและจะเป็นค่าที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละทูเพิล
ความหมายของ   โดเมน (Domain) คือขอบเขตของค่าของข้อมูลที่ควรจะเป็นในแต่ละแอทริบิวต์
ความหมายของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ความหมายของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลในระดับภายนอก  และระดับแนวคิดแก่ผู้ใช้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี  รีเลชั่ต่าง ๆ ในฐานข้อมูลจะประกอบด้วย  แอทริบิวต์ต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูล  และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นกลุ่มข้อมูลของรีเลชั่นหรือตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวหรือคอลัมน์  ซึ่ง
    ทำให้ผู้ใช้เห็นภาพของข้อมูลได้ง่าย
2. ผู้ใช้ไม่ต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร  รวมถึงวิธีการเรียกใช้ข้อมูล
3. ภาษาที่ใช้เป็นการเรียกใช้ข้อมูล  เป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ  และไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้น
4. การเรียกใช้หรือเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่าย โดยใช้โอเปอร์เรเตอร์ทางคณิตศาสตร์
คุณลักษณะในการจัดเก็บข้อมูล
ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล  ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล  หรือป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้หลายคนเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกัน ในขณะที่ข้อมูลนั้นๆกำลังปรับปรุงแก้ไขอยู่ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับผู้ใช้อีกคนหนึ่งก็เรียกใช้ข้อมูลนี้  และได้ค่าที่ไม่ถูกต้อง  เพราะผู้ใช้คนแรกยังปรับปรุงแก้ไขไม่เสร็จ
คีย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.              คีย์หลัก (Primary Key)
เป็นรีเลชั่นที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ เมื่อมีการสร้างรีเลชั่นในภาษาสำหรับนิยามข้อมูล  (  DDL )  เช่น  SQL  คำสั่ง  CREATE  TABLE  เป็นการสร้างรีเลชั่นหลัก  หลังจากนั้นก็จะทำการเก็บข้อมูลเพื่อการเรียกใช้ข้อมูลในภายหลัง  รีเลชั่นหลักจะเป็นตารางที่มีการเก็บข้อมูลจริงไว้
2.              คีย์นอก (Foreign Key)
เป็นรีเลชั่นที่ถูกสร้างขึ้นตามความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน  เพราะผู้ใช้แต่ละคนในฐานข้อมูลอาจต้องการใช้ข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน  จึงทำการกำหนดวิวของตนเองขึ้นจากรีเลชั่นหลักขึ้นมาต่างหาก  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล  และช่วยในการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น
ประเภทของรีเลชั่น
อาจจำแนกออกเป็นหลายประเภท  แต่ประเภทที่มีในการจัดการฐานข้อมูลทั่ว ๆ ไป  ดังนี้  คือ  
1. รีเลชั่นหลัก   (Base  Relation)
เป็นรีเลชั่นที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ เมื่อมีการสร้างรีเลชั่นในภาษาสำหรับนิยามข้อมูล  (  DDL )  เช่น  SQL  คำสั่ง  CREATE  TABLE  เป็นการสร้างรีเลชั่นหลัก  หลังจากนั้นก็จะทำการเก็บข้อมูลเพื่อการเรียกใช้ข้อมูลในภายหลัง  รีเลชั่นหลักจะเป็นตารางที่มีการเก็บข้อมูลจริงไว้
2. วิว (View)
เป็นรีเลชั่นที่ถูกสร้างขึ้นตามความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน  เพราะผู้ใช้แต่ละคนในฐานข้อมูลอาจต้องการใช้ข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน  จึงทำการกำหนดวิวของตนเองขึ้นจากรีเลชั่นหลักขึ้นมาต่างหาก  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล  และช่วยในการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น
กฎที่เกี่ยวข้องในฐานข้อมูล
กฎความบูรณภาพของเอนทิตี้
กฎนี้ระบุว่า  แอทริบิวต์ใดที่จะเป็นคีย์หลักในแอทริบิวต์นั้นจะเป็นค่าเอกลักษณ์ ( Unique )  และเป็นค่าว่าง  (Null)  ความหมายของการเป็นค่าว่างไม่ได้  (Not  full)  ในที่นี้จะหมายรวมถึงข้อมูลของแต่ละ
แอทริบิวต์ที่เป็นค่าหลักจะเป็นค่าว่างไม่ได้  และเป็นค่าเอกลักษณ์ในการที่จะระบุค่าของแอทริบิวต์อื่น ๆ ใน
ทูเพิลอื่นๆได้
กฎความบูรณภาพของการอ้างอิง
การอ้างอิงข้อมูลระหว่างรีเลชั่นในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะใช้คีย์นอกของรีเลชั่นหนึ่งไปตรวจสอบกับค่าของแอทริบิวต์ที่เป็นคีย์หลักของรีเลชั่นหนึ่งเพื่อเรียกดูข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง คือ ค่าของคีย์นอกจะต้องสามารถอ้างอิงให้ตรงกันกับค่าขอแงคีย์หลักได้  จึงจะเชื่อมโยงหรืออ้างอิงข้อมูลข้อมูลระหว่างรีเลชั่นได้
ในกรณีที่มีการแก้ไขหรือลบข้อมูลจะทำได้หรือไม่ขึ้นกับการออกแบบฐานข้อมูลมี 4 ทางเลือก คือ
1. การลบหรือแก้ไขข้อมูลแบบมีข้อจำกัด (Restrict)
การลบหรือการแก้ไขข้อมูลจะกระทำได้เมื่อข้อมูลของคีย์หลักในรีเลชั่นหนึ่งไม่มีข้อมูลที่จะอ้างอิงโดยคีย์นอกำจากรีเลชั่นหนึ่ง  เช่น  รหัสแผนก  DEPNO  ในรีเลชั่น  DEP  จะถูกแก้ไขหรือลบทิ้งก็ต่อเมื่อไม่มี
พนักงานคนใดสังกัดอยู่
2. การลบหรือแก้ไขข้อมูลแบบต่อเรียง (Cascade)
การลบหรือการแก้ไขข้อมูลจะทำแบบลูกโซ่  คือ  หากมีการแก้ไขหรือลบข้อมูลของคีย์หลักในรีเลชั่น หนึ่ง  ระบบจะทำการลบหรือการแก้ไขข้อมูลของคีย์นอกในรีเลชั่นหนึ่ง  ที่อ้างอิงถึงข้อมูลของคีย์หลักที่ถูกลบให้ได้
3. การลบหรือแก้ไขข้อมูลโดยเปลี่ยนเป็นค่าว่าง (Nullify)
การลบหรือการแก้ไขข้อมูลจะทำได้เมื่อมีการเปลี่ยนค่าของคีย์นอกที่ถูกอ้างอิงให้เป็นค่าว่างเสียก่อน
4. แก้ไขข้อมูล โดยกำหนดค่าปริยาย (Default)
การแก้ไขข้อมูลของคีย์หลักสามารถทำได้  โดยถ้าหากมีคีย์นอกที่อ้างอิงถึงคีย์หลักที่ถูกแก้ไข  จะทำการปรับค่าของคีย์นอกนั้นเป็นค่าโดยนอกนั้นเป็นค่าโดยปริยาย  ที่ถูกกำหนดขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น