หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

String Functions

String Functions
การใช้สตริง (String) ภาษา php มีกาารสร้างฟังก์ชันสำหรับการทำงานกับสตริงโดยทั่วไปมีความจำเป็นอย่างมาก ที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เพราะจะต้องนำไปให้เป็นส่วนประกอบ ในการสร้าง Web Application ขอแสดงตัวอย่างรายละเอียดดังนี้
addslahes() จะทำการเพิ่มเครื่องหมาย \ (Back Slashes) ให้กับ String ที่มีสัญลักษณ์ ('), ("), (\) ดังตัวอย่าง เช่น
<?
$data = "It 's Home.";
echo addslashes($data);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ It \'s Home.
chr() เป็นฟังก์ชั่นในการแปลงค่าตัวเลข ASCII กลับมาเป็นตัวอักษร เช่น
<?
$data = "65";
echo chr($data);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือตัวอักษร A
echo() ใช้ในการแสดงข้อความ สามารถแสดงได้หลายบรรทัด และสามารถใช้รหัสคอบคุม String ได้ด้วย ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
<?
echo "Hellow Member \n";
echo "My name is Diaw";
echo "I Design and Create
ASPThai.Net";
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือข้อความ Hellow Member My name is Diaw I Design and Create ASPThai.Net
ข้อสังเกตุ สำหรับคำสั่ง \n เป็นคำสั่งสำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ แต่จะใช้กับ HTML Code ดังนั้ถ้าต้องการให้ข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ให้ใช้คำสั่ง <br>
explode() ใช้ในการแบ่ง String โดยต้องกำหนดอักขระที่ใช้แบ่ง เมื่อแบ่งเสร็จแล้วค่า String ที่ถูกแบ่งย่อยจะเก็บอยู่ในตัวแปรอาเรย์ เช่น
<?
$a = "A B C D E F";
&b = explode(" ", $a);
echo "$b[0], $b[1]";
?>
ใน ตัวอย่างนี้ String ที่กำหนดจะถูกแบ่งด้วยช่องว่าง โดยดูจากฟังก์ชั่น explode ค่ากำหนดแรกคืออักขระที่ใช้แบ่ง (" ") ค่ากำหนดที่ 2 คือ String ที่จะนำมาแบ่ง ($a) สุดท้าย String ที่แบ่งเรียบร้อยแล้วจะเก็บ ในอาเรย์ $b เพราะฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราดูจาก Browser คือ A, B
htmlspecialchars() ใช้ในกรณีที่ต้องการแสดงแท็ก HTML บน Browser เช่น
<?
$a = "<B>ASPThai.Net</B>";
print htmlspecialchars($a)
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ <B>ASPThai.Net</B> ทำให้เวลาดูจาก Browser แทนที่จะเป็นตัวหนา กลับแสดงเป็นข้อความ HTML แทน
print() ใช้ในการแสดงข้อความ คล้ายกับคำสั่ง echo() 
sprintf() ใช้ในการแสดงข้อความแต่สามารถกำหนดรูปแบบได้ เช่น
<?
$a = 108.75;
$b = 14.15;
$total = $a + $b;
$f = sprintf ("%01.2f", $total);
print $total;
print "<BR>";
print $total;
?>
จากตัวอย่างเป็นการกำหนดให้แสดงทศนิยม 2 ตำแหน่ง
strlen() ใช้ในการจำนวนอักขระทั้งหมดใน String เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net";
print strlen($a);
?>
ซึ่งมีค่าเท่ากับ 11
strpos() ใช้ในการหาตำแหน่งของ String โดยที่ตำแหน่งแรกคือ 0 เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net";
print strpos($a, "Net");
?>
จะได้ผลลัพธ์คือ 8
strrev() ใช้ในการสลับตำแหน่ง String จากหลังมาหน้า เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net";
print strrev($a);
?>
จะได้ผลลัพธ์คือ teN.iahTPSA
strstr() ใช้ในการค้นหาคำใน String เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
$word = "All";
if(strstr($a,$word))
{ echo "Found."; }
else { echo "Not Found."; }
?>
จากตัวอย่างถ้าค้นพบคำที่ค้นหาจะแสดงคำว่า Found. แต่ถ้าไม่พบจะแสดงคำว่า Not Found.
strtolower() ใช้ในการเปลี่ยน String ให้เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
echo strtolower($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ aspthai.net all in site for you
strtoupper() ใช้ในการเปลี่ยน String ให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
echo strtoupper($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ASPTHAI.NET ALL IN SITE FOR YOU
str_replace() ใช้ในการค้นหาและแทนที่ String เช่น
<?
$a = "ASPThai.Net All in site for You";
$b = str_relpace("for", "to", $a);
echo $b;
?>
จากตัวอย่างเป็นการค้นหาคำว่า for แล้วเปลี่ยนเป็นคำว่า to
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ASPThai.Net All in site to You
trim() ใช้ในการตัดช่องว่างทั้งหน้าและหลัง String เช่น
<?
$a = " ASPThai.Net All in site for You ";
$b = trim($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ตัวแปร $b จะเก็บคำว่า "ASPThai.Net All in site for You" โดยไม่มีช่องว่างทั้งหน้าและหลัง
ucfirst() ใช้ในการเปลี่ยนตัวอักษรตัวแรกให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
<?
$a = "what are you doing?";
echo ucfirst($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Whai are you doing?
ucwords() ใช้ในการเปลี่ยนตัวอักษรตัวแรกของทุกคำให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
<?
$a = "what are you doing?";
echo ucwords($a);
?>
ผลลัพธ์ที่ได้คือ Whai Are You Doing?

(ที่มา http://www.login.in.th/knowledgebase.php?action=displayarticle&id=37)

ฟังก์ชันเกี่ยวกับอะเรย์

ฟังก์ชันเกี่ยวกับอะเรย์
§  ฟังก์ชัน sort เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเรียงลำดับรายการข้อมูลในอะเรย์ โดยเรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามาก

§  ฟังก์ชัน asort เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเรียงลำดับรายการข้อมูลในอะเรย์แบบคู่ โดยเรียงข้อมูลของ value จากค่าน้อยไปหาค่ามาก

§  ฟังก์ชัน ksort เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการเรียงลำดับรายการข้อมูลในอะเรย์แบบคู่ โดยจัดเรียงข้อมูลของ key จากค่าน้อยไปหาค่มาก

§  ฟังก์ชัน max ใช้ในการหาค่า maximum ของ value ในอะเรย์
§  ฟังก์ชัน min ใช้ในการหาค่า minimum ของ value ในอะเรย์
§  ฟังก์ชัน count ใช้ในการนับจำนวนอะเรย์ว่ามีทั้งหมดเท่าไหร่

§  ฟังก์ชัน current ใช้ดึง value ของอะเรย์ที่ pointer ชี้อยู่ หากเป็นการ Initialize Array ตัว pointer จะอยู่ที่ Array 0
§  ฟังก์ชัน next ใช้เลื่อน pointer ในอะเรย์ไปข้างหน้าจำนวน 1 ช่อง
§  ฟังก์ชัน prev ใช้เลื่อน pointer ในอะเรย์ถอยหลังจำนวน 1 ช่อง

§  ฟังก์ชัน each ใช้ดึงค่าของอะเรย์ที่ pointer ชี้อยู่แล้วเลื่อน pointer ในอะเรย์ไปจำนวน 1 ช่อง ค่าที่ดึงออกมาจะเป็นอะเรย์เช่นกัน

§  ฟังก์ชัน end ใช้เลื่อน pointer ในอะเรย์ไปลำดับสุดท้าย

§  ฟังก์ชัน key ใช้ดึง key ของอะเรย์ที่ pointer ชี้อยู่

§  ฟังก์ชัน reset เป็นคำสั่งให้เริ่มต้น pointer ใหม่

§  ฟังก์ชัน list ใช้ในการรับค่าที่อ่านมาได้จากอะเรย์โดยจำนวนของตัวแปร (var 1, var2,…) ที่ตั้งรับในคำสั่งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดอะเรย์ที่ส่งค่ามาให้ว่าอะเรย์นั้นส่งค่าข้อมูลมาให้จำนวนกี่ค่า

§  ฟังก์ชัน print_r ใช้ในการแสดงค่าอะเรย์ทั้งหมด

(ที่มา : www.spu.ac.th/sdm/files/2012/07/Lecture-4.pdf)

อะเรย์ (Array)

อะเรย์ (Array)
§  อะเรย์หรือตัวแปรชุด คือ ตัวแปรที่สามารถเก็บค่าได้หลายๆค่า โดยใช้ตัวแปรตัวเดียว
§  สิ่งที่อยู่ภายในอะเรย์เรียกว่าสมาชิก
§  แต่ละสมาชิกในอะเรย์จะมีอินเด็กซ์เพื่อใช้อ้างอิง
§  ใน PHP อินเด็กซ์จะเริ่มที่ 0 แต่สามารถกำหนดอินเด็กซ์ให้เป็นตัวอักษรได้
§  ข้อมูลแต่ละตัวในอะเรย์ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น อาจจะมีทั้งจำนวนเต็ม เลขทศนิยม ตัวอักษร
§  ใน PHP อะเรย์ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงได้เรียกว่า dynamic array หรือ vector (สำหรับอะเรย์มิติเดียว)
§  ไม่จำเป็นต้องประกาศตัวแปร
§  ค่าของอะเรย์จะถูกกำหนดให้ตอนที่โปรแกรมทำงาน (Run time)
§  การสร้างอะเรย์โดยใช้ฟังก์ชัน array และการเปรียบเทียบการใช้ For และ Foreach
§  การสร้างอะเรย์โดยใช้ฟังก์ชัน array range (int low, int high)
§  การนำข้อมูลจาก Text file มาเก็บไว้ในอะเรย์
§  ข้อมูลที่เก็บในแต่ละบรรทัด คือ ข้อมูลในแต่ละ Element
§  หากต้องการแสดงข้อความให้ถูกต้องจำเป็นต้อง convert special character ก่อนการ display HTML โดยใช้ฟังก์ชัน htmlspecialchars

การใช้อะเรย์หลายมิติ (Multidimensional Array)
§  กำหนดชื่อตัวแปรแล้วตามด้วยเครื่องหมาย […][…] สำหรับอะเรย์สองมิติ และ […] […][…] สำหรับอะเรย์สามมิติ
$arr_2[1][1]=4000;           //$arr_2 เป็นอะเรย์สองมิติ
$arr_3[1][1][1]=2000;     //$arr_3 เป็นอะเรย์สองมิติ

อะเรย์แบบคู่ (Key/Value)
§  การเก็บข้อมูลในอะเรย์แบบนี้จะใช้กับข้อมูลที่จัดเก็บเป็นคู่ๆ

§  อะเรย์แบบคู่ (Key/Value) ประเภท 2 มิติ

§  ถ้าต้องการจะเข้าถึงข้อมูลแต่ละคู่ที่ถูกเก็บอยู่ในอะเรย์แบบคู่ จะใช้วิธีเรียกผ่านฟังก์ชัน each() และ list()

§  จะเข้าถึงข้อมูลแต่ละคู่ที่ถูกเก็บอยู่ในอะเรย์แบบคู่สามารถทำได้อีกวิธีคือ การใช้คำสั่ง foreach

(ที่มา : www.spu.ac.th/sdm/files/2012/07/Lecture-4.pdf)

ฟังก์ชัน PHP

ฟังก์ชัน PHP
                ฟังก์ชัน คือ โปรแกรมย่อยที่สามารถประมวลและคืนผลลัพธ์จากการประมวลนั้นสู่โปรแกรมหลักได้ ซึ่งจำเป็นในการเขียนโปรแกรมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
                โดยฟังก์ชันของ PHP มี 2 ส่วน คือ
§  ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง
§  ฟังก์ชันที่มากับ PHP (สามารถเรียกใช้งานได้ทันที)
ชื่อของคลาสและฟังก์ชันที่ผู้ใช้ทำการกำหนดเองตลอดจน constructs และ keywords ต่างๆ เช่น echo, while, class เป็นต้น มีคุณสมบัติเป็นแบบ case-insensitive ตัวอย่างเช่น echo, ECHO,EcHo
แต่ในทางกลับกัน ชื่อตัวแปรต่างๆ นั้น PHP จะมองเป็น case-insensitive ตัวอย่าง เช่น $name, SNAME และ $NaMe

ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง
                ผู้ใช้สามารถสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ทำได้โดยง่าย โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐาน ตัวแปร ค่าคงที่ โอเปอเรเตอร์ และการควบคุมโปรแกรมที่กล่าวมาแล้ว มาใช้ในการสร้างฟังก์ชัน สำหรับฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาเอง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
§  ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันแบบนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดชื่อ ขั้นตอนการทำงานของฟังก์ชันไว้ที่ต้นของโปรแกรมก่อน หลังจากนั้นสามารถเรียกใช้งานได้ทันที รูปแบบการสร้างฟังก์ชันมีดังนี้


§  ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าระหว่างฟังก์ชัน
ฟังก์ชันแบบนี้จะมีการรับค่าเพื่อนำไปคำนวณภายในฟังก์ชันจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ภายในฟังก์ชันเป็นการใช้โครงสร้าง ตัวแปร โอเปอเรเตอร์ อื่นๆ รูปแบบการกำหนดฟังก์ชันจะเป็นดังนี้



การใช้ static ในฟังก์ชัน

การผ่านค่าตัวแปลแบบ reference ในฟังก์ชัน

การนำค่านอกฟังก์ชันมาใช้โดยใช้คำสั่ง global

(ที่มา : www.spu.ac.th/sdm/files/2012/07/Lecture-4.pdf)

การกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ข้อมูล

การกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ข้อมูล

·       Field Size
ในการกำหนดขนาดของฟิลด์ จะเป็นส่วนที่บอกถึงความยาวของข้อความที่สามารถป้อนลงไปได้ ซึ่งหากฟิลด์ข้อมูลที่สร้างขึ้น เช่น รหัส มีการป้อนข้อมูลลงไปเพียง 5 ตัวอักษร แต่ค่าเริ่มต้นในช่อง Field Size ของข้อมูลชนิดข้อความ กำหนดไว้เป็น255 ตัวอักษร Access จะจองพื้นที่เก็บข้อมูลไว้ 255 จึงทำให้เป็นการเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงควรกำหนดให้ขนาดของฟิลด์เหมาะสมกับการป้อนข้อมูลด้วย

·      Format
ใช้ในการกำหนดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งจะไม่มีผลกับข้อมูล และจะแตกต่างกันไปตามชนิดข้อมูล ทั้งข้อมูลชนิดข้อความ ตัวเลข หรือวันที่เวลา ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการกำหนดรูปแบบกับฟิลด์ข้อมูลที่เป็นชนิดข้อความ ซึ่งสามารถกำหนดได้ดังต่อไปนี้

-                  Decimal Place
            ใช้สำหรับกำหนดว่าจะให้แสดงจุดทศนิยมกี่ตำแหน่ง ซึ่งจะใช้ได้กับข้อมูลชนิด Numberและ Currency เท่านั้น

-                   Input Mask
            ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบในการป้อนข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการป้อนข้อมูล ซึ่งสามารถกำหนดโดยใช้เครื่องมือช่วย หรือจะกำหนดเองก็ได้ เช่น รูปแบบเบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น

-                   Caption
            ใช้กำหนดข้อความที่แสดงในส่วนหัวคอลัมน์ในมุมมองแผ่นตารางข้อมูล (Datasheet View) หรือเป็นชื่อที่ปรากฏในฟอร์ม หรือรายงาน

-                   Default Value
            ใช้สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นของข้อมูลในฟิลด์ ถ้ามีการเพิ่มเรคคอร์ดใหม่ลงไปในตาราง ผู้ใช้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลที่ตรงกับค่าเริ่มต้นนี้

-                   Validation Rule
            ใช้สำหรับกำหนดเงื่อนไขสำหรับการป้อนข้อมูล เช่น ในฟิลด์นี้จะต้องป้อนข้อมูลเพียง 2 ค่าคือ หญิงและชายเท่านั้น ถ้าป้อนนอกเหนือจากนี้แล้ว จะแสดงกรอบหน้าต่างเตือน และไม่สามารถป้อนข้อมูลนอกเหนือจากที่กำหนดนี้ได้ ตัวอย่างเช่น
Validation Text  ใช้สำหรับแสดงข้อความแจ้งเตือน เมื่อป้อนผิดเงื่อนไขในช่อง Validation Rule ซึ่งสามารถป้อนข้อความแจ้งเตือนได้ไม่เกิน 255 ตัวอักษร

-                   Required
            ใช้สำหรับกำหนดคุณสมบัติว่าผู้ใช้จำเป็นจะต้องป้อนข้อมูลลงไปในฟิลด์ที่กำหนดนี้หรือไม่ถ้าเลือก Yes จะต้องป้อนข้อมูลลงไปในฟิลด์ แต่ถ้าเลือก No ไม่จำเป็นต้องป้อนข้อมูลก็ได้


ฟิลด์

ฟิลด์

                 ฟิลด์ คือ กลุ่มของอักขระทีสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฟิลด์แต่ละฟิลด์ยังแยกออกเป็นประเภทข้อมูล ซึ่งจะบ่งบอกว่าในเขตฟิลด์นั้นบรรจุข้อมูลประเภทใดไว้ สามารถแยกประเภทของฟิลด์ได้เป็น 3 ประเภท คือ

·   ฟิลด์ตัวเลข (numeric field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมและอาจมีเครื่องหมายลบหรือบวก เช่น ยอดคงเหลือในบัญชีเป็นกลุ่มของตัวเลข

·       ฟิลด์ตัวอักษร (alphabetic field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวอักษรหรือช่องว่าง (blank)เช่น ชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มของตัวอักษร

·       ฟิลด์อักขระ (character field หรือ alphanumeric field) ประกอบด้วย อักขระซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ที่อยู่ของลูกค้า

ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฟิลด์ เป็นหน่วยย่อยของระเบียนที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูล เช่น ฟิลด์เลขรหัสประจำตัวบุคลากร ฟิลด์เงินเดือนของลูกจ้าง หรือฟิลด์เลขหมายโทรศัพท์ของพนักงาน ตัวอย่าง เช็คของธนาคารแห่งหนึ่งประกอบด้วย ชื่อที่อยู่ธนาคาร เช็คเลขที่ จ่ายจำนวนเงินเป็นตัวเลข จำนวนเงินเป็นตัวอักษร สาขาเลขที่ เลขที่บัญชี และลายเซ็น
ฟิลด์บางฟิลด์อาจจะประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆ ประเภทรวมกันในฟิลด์ เช่น ฟิลด์วันที่ประกอบด้วย 3 ฟิลด์ย่อย ๆ คือ วันที่ เดือน และปี หรือในฟิลด์ชื่อธนาคาร ยังประกอบด้วยหลายฟิลด์ย่อย ๆ คือ ชื่อธนาคาร ที่อยู่ เมือง ประเทศ และรหัสไปรษณีย์