ระบบสื่อสาร
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสาร สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1.
ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น
2.
ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์
ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ
ถ้าผู้รับสารหรือจุดหมาย ปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร
ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
3. ช่องสัญญาณ
(channel) หมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน
อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น
4. การเข้ารหัส
(encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย
จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้
การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูป พลังงาน
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส
(decoding) หมายถึง การที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลาง
ให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน
(noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ
มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร
และช่องสัญญาณ
ช่องทางในการสื่อสารข้อมูล
-แบบกำหนดเส้นทางได้
-แบบกำหนดเส้นทางไม่ได้
ชนิดของตัวกลางที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ตัวกลางประเภทสายส่งสัญญาณไฟฟ้า มีดังนี้
1.สายคู่ตีเกลียว
-สายคู่ตีเกลียวเป็นสัญญาณที่มีราคาถูกที่สุดและนิยมใช้มากที่สุด
ภายในประกอบด้วยลวดทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มแล้วนำมาพันกันเป็นเกลียว
2.สายเคเบิลแกนร่วมหรือสายโคแอกเชีลเคเบิล
- หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า สายโคแอก
เป็นสายสื่อสารที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง
มีตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชึ้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง
ชั้นนอกเป็นเกลียวฟั่นและขั้นคั่นระหว่างชั้น ด้วยฉนวนหนา
เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนว
สายเคเบิลแกนร่วมหรือสายโคแอกเชีลเคเบิล
- หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า สายโคแอก
เป็นสายสื่อสารที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง
มีตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชึ้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง
ชั้นนอกเป็นเกลียวฟั่นและขั้นคั่นระหว่างชั้น ด้วยฉนวนหนา
เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวนมีลักษณะเดียวกับสายทั่วไป สายโคแอกสามารถม้วนโค็งงงอได้
3.สายเคเบิลใยแก้วนำแสง
- เป็นตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปของแสง หลักการทั่วไปคือ
การเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลหรือสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงก่อน
แล้วส่งผ่านสายไฟเบอร์ออฟติกส์ปยังปลายทาง
ตัวกลางประเภทไร้สาย มีดังนี้
- ระบบไมโครเวฟ
(Microwave system)
- ระบบดาวเทียม ( ระบบดาวเทียม)
-คลื่นวิทยุ (Radio)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น